ระบบการบริหารความปลอดภยัของข้อมูล ISO
270001
270001
ระบบมาตรฐานด้านความปลอดภัยของข้อมูล ISO 27001
ISO/IEC 27001:2005 (Information Security Management System: ISMS) เป็นมาตรฐานการจัดการข้อมูลที่มีความสำคัญเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งข้อกำหนดต่างๆกำหนดขึ้นโดยองค์กรที่มีชื่อเสียงและมีความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ คือ ISO (The International Organization for Standardization) และ IEC (The International Electrotechnical Commission) การประยุกต์ใช้ ISMS จะช่วยให้กิจกรรมทางธุรกิจต่อเนื่องไม่สะดุด, ช่วยป้องกันกระวนการทางธุรกิจจากภัยร้ายแรงต่างๆเช่น แผ่นดินไหว, วาตภัย, อุทกภัย ฯลฯ และ ความเสียหายของระบบข้อมูล โดยครอบคุม ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและทุกกลุ่มธุรกิจ
มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานสากลที่มุ่งเน้นด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบสารสนเทศขององค์กร และใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงเพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัย ให้กับระบบสารสนเทศขององค์กรอย่างแพร่หลาย ก่อนจะมาเป็นมาตรฐานสากลนี้ มาตรฐานISO/IEC 27001 และ ISO/IEC 17799:2005 ได้รับการแก้ไขปรับปรุงมาจากมาตรฐานเดืมที่ชื่อว่า BS 7799-1 และ ISO/IEC 17799 : 2000 ตามลำดับ เนื้อหาของมาตรฐาน ISO 27001 : 2005 จะเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและปฏิบัติใช้งาน “ระบบบริหารความมั่นคงของข้อมูล” ขึ้นในองค์กร ซึ่งในแนวคิดของมาตรฐานส่วนนี้จะเป็นแนวทางสำคัญเนื้อหาของมาตรฐาน ISO 27001 : 2005 แบ่งออกเป็น 8 ส่วนดังนี้
1.ขอบเขต (Scope)
2.มาตรฐานอ้างอิง (Normative reference)
3.คำจำกัดความและนิยาม (Term and definitions)
4.ระบบบริหารความมั่นคงของข้อมูล (Information security management system)
5. หน้าที่ ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management responsibility)
6.การตรวจประเมินการบริหารความมั่งคงของข้อมูลภายใน (Internal ISMS audit)
7.การทบทวนการบริหารความมั่นคงของข้อมูล (Management review of the ISMS)
8.การปรับปรุงการบริหารความมั่นคงของข้อมูล (ISMS improvement)
ความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน ISO/IEC27001 กับ ISO/IEC17799-2005 สามารถอธิบายโดยย่อได้ดังนี้
1.ขอบเขต (Scope)
2.ศัพท์เทคนิคและนิยาม (Terms and definitions)
3.โครงสร้างของมาตรฐาน (Structure of this standard)
4.การประเมินความเสี่ยงและการจัดการกับความเสี่ยง / ลด / โอนย้าย / ยอมรับความเสี่ยง (Risk assessment and treatment)
สำหรับมาตรฐาน ISO/IEC 17799-2005 ว่าด้วยเรื่องของวิธีปฏิบัติที่จะนำไปสู่ระบบบริหาร จัดการความมั่นคงปลอดภัยที่องค์กรได้จัดทำขึ้น ซึ่งจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐาน ISO/IEC27001 รายละเอียดของมาตรฐานนี้จะบอกถึงวิธีปฏิบัติในการลดความเสี่ยงที่เกิดจากจุดอ่อนของระบบโดยแบ่งเป็นหัวข้อหลักที่เกี่ยวข้องกับระบบ และให้แนวทางว่าผู้จัดทำควรปฏิบัติอย่างไร ซึ่งผู้ใช้สามารถเพิ่มเติมมาตรการหรือใช้วิธีการที่มีความมั่นคงปลอดภัยเพียงพอ หรือเหมาะสมตามที่องค์กระได้ประเมินไว้
หลักการของการออกแบบโครงสร้างระบบ ISO/IEC27001:2005 เป็นระบบพลวัตร (Dynamic System)ซึ่งอ้างอิง รูปแบบ PDCA Model (Plan Do Check Action) ซึ่งเป็นโครงสร้างเดียวกับ ระบบ การบริหารที่เป็นสากลที่ใช้กันทั่วโลก เช่น ระบบการจัดการคุณภาพ (ISO 9001:2000), ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO14001:2004), ระบบการจัดการคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ (ISO/TS 16949), ระบบการจัดการจัดการคุณภาพสำหรับอตสาหกรรมอาหาร (ISO 21001) ฯลฯ ซึ่งองค์ที่มีการประยุกต์ระบบการจัดการต่างๆนี้แล้ว จะสามารถต่อยอดระบบ ISO/IEC27001:2005ได้เร็วและง่ายขึ้น แต่สำหรับ องค์กรที่ยังไม่มีระบบการจัดการใดๆ ก็ใช่ว่าจะประยุกต์ใช้ยากเพราะ ระบบ มีการเขียนที่เข้าใจง่ายและแบ่งหมวดให้ง่ายต่อความเข้าใจตาม PDCA อยู่แล้วเพียงแต่ต้องทำความเข้าใจกับระบบให้มากขึ้น
ISO/IEC27001:2005 หรือ Information Security Management System (ISMS) เป็นระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อให้ระบบข้อมูลสารสนเทศขององค์กรมีคุณสมบัติในด้านต่างๆดังต่อไปนี้
• Confidentiality เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลต่างๆ สามารถเข้าถึงได้เฉพาะ ผู้ที่มี สิทธิที่จะเข้าเท่านั้น
• Integrity เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลมีความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ โดยไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข จากผู้ไม่ได้รับอนุญาติ
• Availability เพื่อให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลพร้อมที่จะใช้งานอยู่เสมอ โดยผู้ที่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ทุกเมื่อ หากต้องการ
ระบบ ISMS เป็นระบบ Dynamic system ที่ใช้โครงสร้าง PDCA ดังนั้น ระบบจะมีการหมุนเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลามี่ที่สิ้นสุด โดยโครงสร้างของข้อกำหนด จะถูกแบ่งตาม PDCA ดังนี้
Plan - การจัดทำระบบ ISMS
Establish ISMS
a) กำหนด scope และ ขอบเขตการจัดทำระบบ ISMS
b) กำหนด ISMS Policy
c) กำหนด รูปแบบการประเมินความเสี่ยง
d) กำหนดความเสี่ยง
e) วิเคราะห์ และ ประเมินความเสี่ยง
f) กำหนดและประเมิน วิธีการเพื่อลดความเสี่ยง
g) เลือกการควบคุม เพื่อลดความเสี่ยง
h) เห็นชอบความเสี่ยงที่เหลืออยู่โดย management
I) เห็นชอบและประยุกต์ใช้ ระบบ โดย management
J) จัดทำ Statement of Applicable(SOA)
Do - ประยุกต์ใช้และดำเนินการ ระบบ ISMS
Implement and Operate the ISMS
a) กำหนดแผนการลดความเสี่ยง
b) ดำเนินการตามแผนลดความเสี่ยง
c) ดำเนินการ ตามการควบคุมที่เลือกตาม 4.2.1g
d) กำหนดการวัดประสิทธิภาพของระบบการควบคุม
e) จัดทำรายการฝึกอบรม
f) จัดการการประยุกต์ใช้ระบบ
g) ประยุกต์ใช้ ระเบียบปฎิบัติงาน
Check - เฝ้าระวังและตรวจสอบระบบ ISMS
Monitor and review ISMS
a) จัดทำ ระเบียบปฏิบัติการ เฝ้าระวังและตรวจสอบระบบ ISMS
b) ทบทวนประสิทธิภาพของ ระบบอย่างสม่ำเสมอ
c) วัดประสิทธิภาพการควบคุมในการปฏิบัติตามข้อกำหนด
d) ทบทวน การประเมินความเสี่ยงตามแผน ความเสี่ยงที่เหลือ ระบบการประเมินความเสี่ยง และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตามรอบเวลาที่กำหนด
e) ดำเนินการ ตรวจติดตามภายในระบบISMS
f) ดำเนินการ จัดทำ management review
g) ปรับปรุง security plan ให้ทันสมัย
h) บนทึกการการทำงานและหลักฐานที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบ
Action - รักษาและปรับปรุง ระบบ ISMS
Maintain and improve the ISMS
a) ดำเนินการ corrective action และ preventive action
b) สื่อสาร วิธีการและการปรับปรุงต่างๆ ให้กับผู้ที่เกี่ยข้องต่างๆ
c) แน่ใจว่า วิธีการที่ปรับปรุงขึ้น บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้
นอกจากนี้ บางข้อกำหนดในระบบ ISMS ถูกแยกมากล่าวเพื่อชี้แจงรายละเอียดดังนี้
4.3 Document control
4.3.1 General
4.3.2 Control of Document
4.3.3 Control of Record
5. Management Responsibility
5.1 Management Commitment
5.2 Resource management
6 Internal Audit
7 Management Review
7.1 General
7.2 Review Input
7.3 Review Out put
8 ISMS Improvement
8.1 Continual Improvement
8.2 Corrective action
8.3 Preventive action
ปัจจุบันข้อมูลสารสนเทศเปรียบเสมือนสินทรัพย์ที่มีมูลค่าและบทบาทสำคัญต่อการบริหารจัดการองค์กร ดังนั้นองค์กรต่างๆจึงเริ่มตระหนักถึงการปกป้องรักษาข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญๆ อันนำมาซึ่งความท้าทายในการบริหารความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศอย่างเป็นมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับการลงทุน เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศมีความเชื่อมั่นว่าข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวมีความปลอดภัยตามหลักของ C I A ซึ่งประกอบด้วย มีกระบวนการรักษาความลับที่เหมาะสม ผู้มีสิทธิเท่านั้นถึงจะเข้าถึงได้ (C : Confidentiality) มีความสมบูรณ์ถูกต้องของเนื้อหาสาระ (I : Integrity) และมีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลเมื่อต้องการได้ทุกเวลา (A : Availability) โดยเฉพาะในโอกาสที่ประเทศไทยจะก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2015 (ASEAN Community 2015) องค์กรต่างๆในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริหาร พนักงาน ลูกค้า และคู่ค้า ว่าสารสนเทศขององค์กรจะมีคุณสมบัติครบตามหลัก C I A
ในปีที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสรับการสนับสนุนจาก องค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย หรือ Asian Productivity Organization (APO) ในการเข้าร่วมโครงการ Training Course on the Information Security Management System: ISO 27000 Series ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การฝึกอบรมเชิงลึกเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการตามระบบคุณภาพ ISO 27000 อันเป็นมาตรฐานของระบบคุณภาพที่ใช้ในการบริหารความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ หรือ Information Security Management (ISM) และเตรียมความพร้อมให้ผู้ร่วมโครงการที่มาจากประเทศสมาชิกต่างๆดังกล่าวสามารถเป็นผู้นำการประเมินและการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน ISO 27000 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เขียนมีความเข้าใจถึงความสำคัญและการประยุกต์ใช้ระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 27000 ยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงอยากนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ มาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับผู้อ่านเพื่อให้ทุกท่านได้ตระหนักถึงการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศและสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กรได้ต่อไป
ระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ หรือ Information Security Management System (ISMS) นั้น คือ ระบบหรือกระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการสารสนเทศที่มีความสำคัญขององค์กรให้มีความมั่นคงปลอดภัยตามหลัก C I A ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติตามขั้นตอนของกระบวนการดังนี้
เริ่มตั้งแต่ทำการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเพื่อทำให้ทราบว่าสารสนเทศใดที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและความเสียหายอันส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรจากภัยคุกคามทั้งภายในภายนอกกับสารสนเทศนั้นมากน้อยแค่ไหน มีวิธีการบริหารจัดการในการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวอย่างไร โดยจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงทั้งหมดที่พบ และพิจารณาว่าสิ่งใดจำเป็นต้องรีบบริหารจัดการก่อนและหลัง จากนั้นจึงดำเนินการตามวงจร P (Plan หรือ การวางแผน) D (Do หรือ การประยุกต์ใช้หรือการดำเนินการ)C (Check หรือ การตรวจสอบ) A (Action หรือ การบำรุงรักษาหรือการปรับปรุง) โดยเริ่มจากทำการออกแบบระบบบริหารจัดการ ซึ่งในที่นี้หมายถึงกระบวนการที่เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย แต่ไม่ได้หมายรวมเพียงแค่การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนเท่านั้น ยังหมายรวมถึงการพัฒนาขั้นตอนปฏิบัติหรือการนำขั้นตอนปฏิบัติที่มีอยู่เดิมมาปรับปรุงเพื่อให้เกิดกระบวนการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจขององค์กรอย่างเหมาะสม โดยหลังจากที่ได้ระบบที่ต้องการแล้วก็ทำการดำเนินการตามระบบที่ได้วางแผนไว้ จากนั้นทำการตรวจสอบการดำเนินงานว่ามีการดำเนินงานครบถ้วนตามวัตถุประสงค์และแผนที่วางไว้หรือไม่ และยังมีจุดอ่อนอยู่ที่จุดใด อย่างไร เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนแล้วก็นำมาพิจารณาทำการบำรุงรักษากระบวนการเดิมที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมเพียงพอ และทำการปรับปรุงกระบวนการที่ยังมีจุดอ่อนให้ดีขึ้น เพื่อทำให้ระบบบริหารจัดการที่ประยุกต์ใช้ในองค์กรนั้นมีคุณภาพ ทันสมัย และเหมาะสมอยู่เสมอ
สำหรับระบบการจัดการตามระบบคุณภาพ ISO/IEC 27000 อันเป็นมาตรฐานของระบบคุณภาพที่ใช้ในการบริหารความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ หรือ Information Security Management (ISM) นั้นประกอบด้วยมาตรฐานย่อยอื่นๆดังนี้
ISO/IEC 27000 : 2008 ว่าด้วย ภาพรวมและคำศัพท์ต่างๆที่ใช้ในมาตรฐาน
ISO/IEC 27001 : 2005 ว่าด้วย ความต้องการตามมาตรฐาน ว่าสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการนั้นมีเรื่องใดบ้าง
ISO/IEC 27002 ว่าด้วย เกณฑ์มาตรฐานในการปฏิบัติ ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของมาตรฐาน สิ่งใดที่จำเป็นต้องมี และต้องมีในระดับไหน
ISO/IEC 27003 : 2009 ว่าด้วย แนวทางการดำเนินงานตามมาตรฐาน
ISO/IEC 27004 ว่าด้วย การวัดประเมินตามมาตรฐาน
ISO/IEC 27005 : 2008 ว่าด้วย การบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน
ISO/IEC 27006 : 2008 ว่าด้วย แนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน
ISO/IEC 27007 ว่าด้วย แนวทางการตรวจประเมินตามมาตรฐานของผู้ตรวจประเมิน
แต่โดยทั่วไปหากพูดถึงมาตรฐานการบริหารความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ เราก็จะไปให้ความสนใจกับความต้องการตามมาตรฐาน แล้วเรียกรวมๆว่า ISO 27001 นั่นเอง ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อต้องการจะประยุกต์ใช้ระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 27000 ในองค์กร ก็คือองค์กรต้องมีการดำเนินการดังต่อไปนี้
- จัดทำนโยบายระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ (ISMS)
- กำหนดขอบเขตของระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ (ISMS)
- จัดทำขั้นตอนและการควบคุมในการสนับสนุนระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ (ISMS)
- เลือกและจัดทำวิธีการประเมินความเสี่ยง
- จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยง
- จัดทำแผนการรักษาความเสี่ยงขั้นตอนการบันทึกตามระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ (ISMS)
- จัดทำบันทึกในระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ (ISMS)
- จัดทำ Statement of Applicability (SoA) หรือ เอกสารแสดงมาตรการในมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ที่องค์กรได้มีการนำมาใช้งานและเหตุผลของการใช้ รวมทั้งมาตรการที่ไม่ได้นำมาใช้งานและเหตุผลที่ไม่ได้ใช้งาน
โดยการดำเนินการดังกล่าวต้องครอบคลุมหัวข้อหลัก (Domain) ที่จำเป็นในการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 27001 ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 11 หัวข้อหลัก คือ
- Domain ที่ 1 ในมาตรฐานคือหมวด A5 เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง Security Policy หรือ นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศขององค์กร
- Domain ที่ 2 ในมาตรฐานคือหมวด A6 เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง Organization of Information Security หรือ โครงสร้างพื้นฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศขององค์กร
- Domain ที่ 3 ในมาตรฐานคือหมวด A7 เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง Asset Management หรือ การบริหารจัดการสินทรัพย์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศขององค์กร
- Domain ที่ 4 ในมาตรฐานคือหมวด A8 เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง Human Resource Security หรือ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านทรัพยากรบุคคลที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ
- Domain ที่ 5 ในมาตรฐานคือหมวด A9 เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง Physical & Environmental Security หรือ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ
- Domain ที่ 6 ในมาตรฐานคือหมวด A10 เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง Communications & Operations Management หรือ การบริหารจัดการเรื่องการสื่อสารและการปฏิบัติงานที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยสำหรับสารสนเทศ
- Domain ที่ 7 ในมาตรฐานคือหมวด A11 เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง Access Control หรือ การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ
- Domain ที่ 8 ในมาตรฐานคือหมวด A12 เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง Information Systems Acquisition Development & Maintenance หรือ การพัฒนาและการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ
- Domain ที่ 9 ในมาตรฐานคือหมวด A13 เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง Information Security Incident Management หรือ การบริหารการเตรียมความพร้อมเพื่อรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นกับระบบสารสนเทศ
- Domain ที่ 10 ในมาตรฐานคือหมวด A14 เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง Business Continuity Management หรือ การบริหารการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
- Domain ที่ 11 ในมาตรฐานคือหมวด A15 เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยเรื่อง Compliance หรือ การปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับ
ทั้งนี้ในแต่ละหัวข้อหลัก หรือ Domain จะประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ของการควบคุมตามเกณฑ์มาตรฐาน หรือ Control Objectives และในแต่ละControl Objectives จะประกอบไปด้วย ตัวควบคุมตามเกณฑ์มาตรฐาน หรือ Controls ดังนั้นใน เกณฑ์มาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 27001 ซึ่งประกอบด้วย Domain ทั้งหมด 11 หัวข้อ จะมี Control Objectives ทั้งหมด 39 ข้อ และมี Controls ทั้งหมด 133 ข้อ อย่างไรก็ตามองค์กรไม่จำเป็นต้องมีการดำเนินงานตาม Control Objectives ทั้งหมด 39 ข้อ และไม่จำเป็นต้องมีการดำเนินงานตาม Controls ทั้งหมด 133 ข้อ เนื่องจากทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับ ลักษณะภารกิจ และ การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ หรือ Business Impact Analysis : BIA ของแต่ละองค์กรนั่นเอง
cr.:อ.ธนบัตร
เรียบเรียง by:ไม้ไหน